NEWS

รู้หรือไม่ว่า ทางหลวง หมายถึงอะไร และในประเทศไทย มีทางหลวงกี่ประเภท

“ทางหลวง” หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย”

ซึ่งตามพระราชบัญญัติทางหลวงได้ กำหนดประเภทของทางหลวงไว้ 5 ประเภท
(1) ทางหลวงพิเศษ
(2) ทางหลวงแผ่นดิน
(3) ทางหลวงชนบท
(4) ทางหลวงท้องถิ่น
(5) ทางหลวงสัมปทาน

(1) ทางหลวงพิเศษ
คือ ทางหลวงที่จัดหรือทำไว้เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษโดยกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะ โดยทางเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษตามที่กรมทางหลวงจัดทำขึ้นไว้เท่านั้น อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง


ปัจจุบัน (2560) มีทางหลวงพิเศษจำนวน 5 สาย คือ

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคเหนือ

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือโครงการเส้นทางมอเตอร์เวย์บางปะอิน – นครราชสีมา

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคตะวันออกซึ่งปัจจุบันคือเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ – ชลบุรี

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8
จากกรุงเทพมหานครไปยังภาคใต้

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร หรือถนนกาญจนาภิเษก 

(2) ทางหลวงแผ่นดิน
คือ ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่ที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยายบูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงแผ่นดิน ผู้รับผิดชอบและดูแลโครงการคือ กรมทางหลวง ในสังกัดกระทรวงคมนาคม
โดยมีการแยกประเภทไว้ ดังนี้

ทางหลวงแผ่นดินหลัก มี 4 สาย คือ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม



ทางหลวงแผ่นดินสายประธานตามภาค โดยจะเป็นทางที่แยกจากทางหลวงแผ่นดินหลัก สังเกตุได้จากจะมีตัวเลขกำกับ 2 ตัวเลข อาทิ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24

ทางหลวงแผ่นดินสายรองประธาน ที่มีลักษณะโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลขตัวเดียว หรือสองตัว เข้าสู่สถานที่สำคัญของจังหวัด สังเกตุได้จากจะมีตัวเลขกำกับ 3 ตัวเลข อาทิ 231, 217

ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัด กับอำเภอ หรือสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น ในลักษณะการกระจายพื้นที่ให้บริการทางหลวงออกสู่พื้นที่ย่อย แต่ไม่ได้เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายระยะทางยาว สังเกตุได้จากจะมีตัวเลขกำกับ 4 ตัวเลข อาทิ 2178

(3) ทางหลวงชนบท
คือ ทางหลวงที่กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบท ซึ่ง อธิบดีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวงชนบท

(4) ทางหลวงท้องถิ่น
คือ ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด

(5) ทางหลวงสัมปทาน
คือ ทางหลวงที่รัฐบาลได้ให้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงสัมปทาน ซึ่งอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง

ในอดีตกรมทางหลวงเคยมีทางหลวงสัมปทาน 2 สาย ซึ่งหมดอายุสัมปทานไปแล้ว ได้แก่
1. สายเนินหลังเต่า – บ้านทุ่งเหียง ระยะทาง 14.729 กิโลเมตร
(ปัจจุบันกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3246)
2. สายบูเก๊ะสามี – ดุซงยอ ระยะทาง 15 กิโลเมตร
(ปัจจุบันกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4055)

ปัจจุบัน 2560 กรมทางหลวงมีทางหลวงสัมปทาน 1 สาย คือ ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) บน
ถนนวิภาวดีรังสิต

นอกจากนี้ ทางหลวงเทศบาล และทางหลวงชนบทที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นทางหลวงท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕

ศึกษาเพิ่มเติม
http://www.drr.go.th/sites/default/files/knowledge/070709002.pdf
http://legal.drr.go.th/sites/legal.drr.go.th/files/2_0.pdf

รู้หรือไม่ว่าอินเทอร์เน็ตที่ท่านเลือกใช้งานร่วมกับ package โทรศัพท์

เคยสงสัยไหมว่า เงื่อนไขของโปรอินเทอร์เน็ตของค่ายโทรศัพท์แต่ละค่ายไม่ว่าจะเป็น 3GB, 4GB, 5GB หรือ 10GB สามารถเล่นอะไร ได้เท่าใด



ด้านล่างเป็นตัวช่วยให้ท่านคำนวนได้ว่า โปรเน็ต หรือโปรเริมเน็ต ที่ท่านเลือก พอเพียงกับการใช้งานตาม life style ที่ท่านเป็นอยู่หรือไม่ การคำนวนเบื้อต้นนี้ จะช่วยวางแผนเลือกโปรที่เหมาะสมกับท่านได้ง่ายขึ้น


Brought to you byConfused.com

รู้หรือไม่ว่า ระบบปฎิบัติการใดของ Smartphone ในปี 2016 ที่มีผู้ใช้มากที่สุด

เป็นที่ทราบกันว่าระบบปฎิบัติการของ Smartphone ในปัจจุบัน มีทั้ง Android, iOS และ Windows แต่ในความเป็นจริงรอบปี 2016 ที่ผ่านมา เป็นการชิงชัยของระบบปฎิบัติการ เพียง 2 เจ้า เท่านั้น นั่นคือ Android และ iOS แม้ว่า iOS จะเป็นระบบปฎิบัติการที่ใช้ใน iPhone แต่เพียงแบรนด์เดียว โดยมีสาวก Android ที่เป็นแบรนด์อื่นๆแทบทั้งสิ้น
ซึ่งปีที่ผ่านมา (2016) กระแสความนิยมของระบบปฏิบัติการใน Smartphone ของแต่ละประเทศ มีความเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2015 บ้าง

แต่ที่แน่ชัด Android คือผู้ครองตลาดจากสัดส่วนทั่วโลกประจำปี 2016



รู้หรือไม่ว่า การนำวิดีโอจาก YoueTube มาวางหรือเผยแพร่ใน Social media ของตนเองที่ไม่แสวงหาผลกำไร ไม่ผิดกฏหมาย

ปัจจุบันเราท่านจะมีการใช้งาน Social media ในหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, Instagram, Twitter, BLOG, หรือแม้กระทั่ง Website ส่วนตัว ขององค์กร หรือของหน่วยงาน พบว่ามีหลายคนที่นำวิดีโอจาก YouTube โดยเฉพาะ Music Video ของค่ายเพลงที่ตนเองชื่นชอบ มาเผยแพร่แชร์ต่อบน Social media ของตนในลักษณะใส่โค๊ดคำสั่ง Embed  แม้จะกระทำในวงจำกัด(หรือเปล่า) ในกลุ่มเพื่อนก็ตาม ซึ่งแต่เดิม(ก่อนเดือนสิงหาคม 2558) ถือว่ามีความผิด เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ และถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย ซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์

แต่ปัจจุบันใดมีการตีความใหม่และได้มีการเผยแพร่โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ว่า การทำเช่นนั้น ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ด้วยเหตุผลที่ว่า
1.การ embed เป็นเพียง code คำสั่งเช่นเดียวกับการ share link ที่ถือเป็นการอ้างอิงกลับไปยังคลิปวิดีโอของเจ้าของลิขสิทธิ์ต้นทาง มิได้โยกย้ายตำแหน่ง แหล่งที่มา หรือการนำลงมาเพื่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ

 
2.การที่ User หมายถึงผู้บริโภคจะทำการ embed ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของคลิปวิดีโอบน YouTube ไม่ได้ยกเลิกคำสั่งการฝังได้ (ภาพการตั้งค่าจากด้านบน) เท่ากับเป็นการเผยแพร่ในลักษณะ Public ซึ่งถือได้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์วิดีโอนั้นอนุญาตให้สาธารณชนทั่วไปเข้าถึงงานดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้น การนำวิดีโอจาก YouTube มาเผยแพร่ไว้ที่ blog หรือ Social media ของเราในลักษณะของการฝังโค้ด (embed) จึงอาจไม่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับการแชร์ลิงค์ของคลิปวิดีโอ

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 Training online. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand